รายละเอียด Share KM

  • หัวข้อ : การสังเกตและให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีความบกพร่องทางกายและจิต

  • หมวด : หมวดการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี

  • องค์ความรู้ : ประเด็นอื่นๆที่หน่วยงานเห็นสมควรจัดการความรู้

  • โครงการ : โครงการด้านการจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) ด้านการจัดการศึกษา

  • จัดวันที่ : 10/8/2561

  • ถึงวันที่ : 10/8/2561

  • สถานที่ : ณ ห้องประชุมลีลาวดี ชั้น 1 อาคารเรียน คณะศิลปศาสตร์

  • จัดโดย : งานบริการการศึกษา

  • เนื้อหา :

    1.      ชื่อบทความ การสังเกตและให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีความบกพร่องทางกายและจิต

    2.      ชื่อผู้เขียน            นายจิรภัทร  รัตนสังข์

    3.      วันเดือนปีที่เขียน    27 กรกฎาคม 2562

    4.      แหล่งที่มาของข้อมูล   โครงการด้านการจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)
                                 ด้านการจัดการศึกษา โดย พญ.ชนกานต์  ชัชวาลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช

    5.      สรุปประเด็นความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติที่ดี

                       บางครั้งเรารู้สึกสงสัยว่านักศึกษาอาจจะป่วย หรือเราป่วย  แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่มีใครป่วยเลยก็ได้  เพียงเพราะความไม่เข้าใจกันในช่วงวัย เราไม่มีวันเข้าใจเด็กได้ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่าคิดว่าเราต้องเข้าใจเด็กในทุกๆ เรื่อง เพราะการเลี้ยงดูในแต่ละละครอบครัวแตกต่างกัน ข้อมูลจาก WHO 20 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กมีปัญหาทางจิต แน่นอนโรคที่เจอบ่อยที่สุดในวัยขณะเรียนมหาวิทยาลัย คือโรค depression
    (โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย) แต่ส่วนใหญ่ที่พบมากจะเป็นอาการอารมณ์แปรปรวน คิดมาก และที่มีปัญหาต่อการเรียน
    มากที่สุดคือ โรคจิต (
    Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง โรคซึมเศร้า คนไข้ที่พบจะมีอาการซึมเศร้าติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายส่วนใหญ่กรณีนักศึกษาที่เจอในมหาวิทยาลัยจะหนักกว่า
    ส่วนเด็ก
    Gen C (กลุ่มคนที่จะใช้ชีวิตอยู่กับการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา มี Internet เป็นส่วนประกอบของการใช้ชีวิตประจำวันและการใช้โซเซียลมีเดียเพื่ออัฟเดทข้อมูลข่าวสารของตนเอง) จะพูดเรื่องจริงถึงแม้ท่าทีอาจจะไม่มีอาการ หากเขาไม่ฟังใครแล้วหรือตัดสินใจแล้วก็จะไปเลย ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่ความผิดของอาจารย์  อาการที่ถือว่ามีความเสี่ยง 1) ทานอาหารไม่ค่อยได้ 2) นอนไม่หลับ 3) อยากฆ่าตัวตาย โดยอาจารย์สามารถสอบถามเพื่อที่จะทดสอบระดับอาการจากนักศึกษาที่คิดว่ามีความเสี่ยงได้ ดังนี้

    1)      โทษนะค่ะ/ครับ อยากฆ่าตัวตายไหม?

    2)      มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตายไหม (หากมีความคิด ควรจะรีบพาไปพบแพทย์)

    3)      เตรียมการไว้หรือยัง เช่น เขียนจดหมายถึงพ่อแม่แล้ว (เรียกรถมารับได้เลย)

    จากที่ผ่านมาอาจารย์ผู้สอน อาจจะสังเกตพฤติกรรมเด็กได้จากการสอนในแต่ละรายวิชา
    ซึ่งจะมีเด็กบางส่วนที่มีพฤติกรรมผิดปกติ แปลก  เมื่อสอนไปสักระยะมีอาการง่วง ครองสติตนเองไม่ได้ ซึ่งหากพบเจอหรือสอนเด็กมาตั้งแต่แรกจะสามารถทราบได้ว่าเด็กมีความเปลี่ยนแปลงในระดับใดมาตั้งแต่ต้น  สาเหตุที่มีส่วนทำให้เด็กเกิดความเสี่ยง เรื่องของการเรียนก็นับว่ามีส่วนอย่างยิ่ง ในส่วนของขั้นตอนกระบวนการประเมินผลการเรียนของเด็ก คณะก็มีการตรวจสอบและแจ้งไปยังอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นผลการเรียนรวม แต่ทางที่ดีอาจารย์ผู้สอนควรจะมีการติดตามพฤติกรรมเด็กในแต่ละรายวิชา ควรแจ้งหรือติดตามเด็กมาคุยตั้งแต่ต้นที่มีการตรวจพบว่าเด็กที่มีระดับคะแนนที่น่าเป็นห่วง เพื่อให้เด็กได้มีเวลาคิดและตัดสินใจ ทบทวนว่าควรที่จะไปต่อหรือไม่

              กรณีที่เด็กโดนทำร้ายจากพ่อหรือแม่ การทำร้ายร่างกายโดยพ่อหรือแม่ อาจารย์มีสิทธิทันทีในการดึงเด็กออกมาจากพ่อแม่ โดยมหาวิทยาลัยมีระบบ OSCC เป็นระบบของโรงพยาบาลร่วมกับสำนักงานตำรวจที่ให้การช่วยเหลือเด็กที่โดนทำร้าย โดยมีแพทย์ นักจิตวิทยา นิติเวช ตำรวจ ทำงานร่วมกันในการจัดการเรื่องนี้

    กรณีผู้ป่วย Psychosis

    1.       สังเกต

    2.       อย่าเข้าช่วยเด็กขณะอยู่คนเดียว ควรมีพยานอยู่ในเหตุการณ์ด้วย

    3.       สังเกตคนรอบข้างในเรื่องของการแอบถ่ายคลิปวีดีโอเก็บไว้ ห้ามเด็ดขาด ป้องกันการเผยแพร่

    กระบวนการจัดการ

    1.       กระบวนการใช้ความช่วยเหลือต้องมีคนทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ศูนย์สุขภาพในพื้นที่ ตำรวจ ครอบครัวเด็ก

    2.       ส่งเรื่องเข้าระบบให้การช่วยเหลือ

     

    6.      ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติที่ดี

    ในช่วงที่เด็กเข้าสู่มหาวิทยาลัย อาจจะต้องสื่อสารกับพ่อ แม่ ในเรื่องของการดูแล
    อย่างต่อเนื่อง และทัศนคติของปัญหาทางสุขภาพจิตในการแก้ปัญหา หากแก้ไขไม่ได้ ก็ไม่ควรที่จะแสดงออก ควรที่จะมีใครสักคนที่เด็กเข้าหาและคอยดูแล แต่หากเด็กมีอาการถึงขั้นที่จะต้องรักษา ก็ควรที่จะนำเด็ก
    เข้าพบจิตแพทย์โดยเร็ว ดำเนินการตามขั้นตอน เข้าระบบการดูแล และรักษาต่อไป

    7.        นำความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติไปขยายผลกับงานที่ปฏิบัติ

    คณาจารย์และบุคลากรทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คณาจารย์เห็นความสำคัญและมีส่วนช่วยให้นักศึกษากลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกันในด้านการเรียนการสอนได้อย่างปกติในรั้วมหาวิทยาลัย

     

    8.      ข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)

    -

    9. รายการอ้างอิง (ควรเขียนอ้างอิงแบบ APA)

    ข้อมูลจากการบรรยาย โครงการด้านการจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)
    ด้านการจัดการศึกษา โดย พญ.ชนกานต์  ชัชวาลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมลีลาวดี ชั้น 1 อาคารเรียน คณะศิลปศาสตร์

*************************************************************************
สร้างบทความโดย :
สร้างบทความวันที่ : 8/8/2562

อัปเดท :
โดย : -
ไฟล์แนบ :
>> ไฟล์แนบที่ 1 <<

ไม่มีรูปภาพ