เนื้อหา :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
กำหนดปฏิทินการศึกษาทุกปีการศึกษา และมีกรอบเวลาการจัดสอบกลางภาค ปลายภาค
ทุกภาคการศึกษา อย่างชัดเจน ซึ่งงานบริการการศึกษา
คณะศิลปศาสตร์มีการดำเนินงานจัดตารางสอบตามปฏิทินการศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการดำเนินงานสอบในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ในที่นี้จะกล่าวถึง กระบวนการจัดตารางสอบคณะศิลปศาสตร์
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานให้กับบุคลากรที่จะมาปฏิบัติงานแทนในกรณีเกษียณอายุงานได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน โดยกระบวนการจัดตารางสอบคณะศิลปศาสตร์ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายด้าน
เช่น รายวิชาที่เปิดสอนทั้งรายวิชาศึกษาทั่วไป
และรายวิชาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต รับผิดชอบการจัดสอบให้กับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาของคณะศิลปศาสตร์ทั้งหมด ในที่นี้
ขอยกตัวอย่างข้อมูลการจัดตารางสอบปลายภาค 1/2562 โดยมีระบบของการจัดตารางสอบ กรรมการคุมสอบ และขั้นตอนดังนี้
1. กองทะเบียนและประมวลผล จัดส่งตารางรายวิชาที่แจ้งสอบในตารางสอบ
ตั้งแต่ต้นของการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษามายังคณะศิลปศาสตร์
2. จัดทำบันทึกข้อความ (เอกสาร 1) และเอกสารสำรวจรายวิชาที่จัดสอบในตารางนอกตาราง และวันเวลาติดปฏิบัติงาน (เอกสาร 2)
3. จัดทำบันทึกข้อความไปยังคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขออนุมัติใช้สถานที่สอบ และนำข้อมูลรายวิชาที่จัดสอบในตารางทั้งหมดจากการสำรวจข้อ
2 จัดจำนวนห้องสอบ/ที่นั่งสอบ แต่ละรายวิชาให้สัมพันธ์กับจำนวนห้องสอบ
4. นำข้อมูลที่ได้จากการจัดห้องสอบแต่ละรายวิชา
ข้อ 3 มาจัดทำตารางกรรมการคุมสอบประกอบด้วย
รายชื่อบุคลากรทั้งคณะ วันที่
เวลาสอบช่วงเช้า-ช่วงบ่าย
5. นำข้อมูลรายวิชาจัดสอบนอกตาราง
โดยอาจารย์ผู้สอนมีการกำหนดวันสอบนอกตารางอย่างชัดเจน นำมาลดภาระการคุมสอบจำนวน
1 ครั้ง/นับ LU นอกตารางสอบ/จัดทำค่าปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ
(หากมี)
6. นำข้อมูลรายชื่อผู้บริหารมาล๊อควันเวลาประชุมตามปฏิทินที่มีการกำหนดไว้
7. นำข้อมูลรายชื่อบุคลากรที่ติดปฏิบัติงานในช่วงเวลาสอบ
มาล๊อควันคุมสอบ
8. ลดภาระการคุมสอบของผู้บริหารระดับคณะ
จำนวน 1 ครั้ง ประกอบด้วย รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสาขา
ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ยกเว้นคณบดีไม่ต้องปฏิบัติงานคุมสอบ
9. คำนวณจำนวนวันเวลาคุมสอบ
หารด้วยจำนวนบุคลากรที่สามารถคุมสอบได้ทั้งหมดจะเป็นจำนวนครั้งที่บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ปฏิบัติงานคุมสอบตามปฏิทินของการจัดสอบ
10. ดำเนินการจัดกรรมการคุมสอบ โดยจัดเจ้าของรายวิชาเป็นผู้คุมสอบหลัก ร่วมกับบุคลากรคณะศิลปศาสตร์
11. ส่งข้อมูลให้ฝ่ายพิมพ์ตารางสอบพร้อมกรรมการคุมสอบ
เพื่อบันทึกในระบบโปรแกรมงานสอบของคณะศิลปศาสตร์/มหาวิทยาลัย
ประกาศตารางกรรมการคุมสอบให้บุคลากรทั้งคณะฯรับทราบ
และปฏิบัติงานตามวันเวลาสถานที่ที่ได้กำหนดไว้
12. มหาวิทยาลัยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งกรรมการคุมสอบทุกภาคการศึกษาโดยภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย
ในทุกภาคการศึกษา และแจ้งมายังคณะศิลปศาสตร์เพื่อแจ้งบุคลากรของคณะศิลปศาสตร์ ในการปฏิบัติงานกรรมการคุมสอบผ่านระบบ E-doc
13. คณะศิลปศาสตร์จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง
กรรมการดำเนินงานสอบของบุคลากรสายสนับสนุน ในระดับคณะฯ และแจ้งไปยังกรรมการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
ผ่านระบบ E-mail
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติที่ดี
(ถ้ามี)
1. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคุมสอบ
ในระดับมหาวิทยาลัย
2. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสอบ
ในระดับคณะศิลปศาสตร์
3. มีระบบโปรแกรมตรวจสอบรายชื่อ วันเวลา สถานที่คุมสอบ
มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล กรณีกรรมการคุมสอบมีการแลกเปลี่ยนการคุมสอบ และสามารถตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา
4. มีประกาศ ระเบียบ แนวปฏิบัติ ในการดำเนินงานสอบระดับคณะศิลปศาสตร์อย่างชัดเจน
โดยอ้างอิงกับประกาศของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถือเป็นแนวปฏิบัติ
5. การรายงานปัญหาข้อเสนอแนะทุกครั้งของการดำเนินงานสอบเสร็จสิ้น โดยงานดำเนินการสอบสรุปผลการจัดสอบทุกภาคการศึกษา และนำมาทบทวนหาแนวทางแก้ไขการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานทุกฝ่าย และเมื่อการจัดสอบเสร็จสิ้นตลอดปีการศึกษา ประธานกรรมการดำเนินงานสอบและกรรมการดำเนินงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไข
และนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์รับทราบ ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อให้การดำเนินงานสอบคณะศิลปศาสตร์ ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. กรณีนักศึกษาทุจริตการสอบ
คณะศิลปศาสตร์ดำเนินการตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี
พ.ศ. 2558 ข้อ 11 การวัดและประเมินผล ข้อ 11.10 การทุจริตในการวัดผล และข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2560 ข้อ 5 การกระทำผิดวินัยดังต่อไปนี้
ให้ถือว่าเป็นกดารกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ข้อ5.5 ทุจริตในการวัดผล และรายงานการทุจริตผ่านแบบฟอร์มการทุจริตของคณะศิลปศาสตร์
(เอกสาร 11) ทั้งในส่วนของกรรมการคุมสอบรายงาน
และนักศึกษาที่ทุจริตรายงาน
คณะศิลปศาสตร์จัดทำบันทึกข้อความ (ลับ)
ไปยังหน่วยงานที่นักศึกษาสังกัดพิจารณาตามกระบวนการสืบสวนสอบสวนของแต่ละคณะที่นักศึกษาสังกัดตามลำดับ
นำความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติไปขยายผลกับงานที่ปฏิบัติ
ถ่ายทอดเทคนิคต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในการจัดตารางสอบ และกรรมการคุมสอบให้กับผู้ร่วมปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการปฏิบัติงานแทนกรณีเกษียณงาน
สามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก และไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดตารางสอบ
กรรมการคุมสอบ ในระดับคณะศิลปศาสตร์
ข้อเสนอแนะ และข้อควรระวัง
ข้อเสนอแนะ
1. เรียนรู้ประสบการณ์
และมีข้อมูลจำเพาะของบุคลากรเพื่อหลีกเลี่ยงการจัดกรรมการคุมสอบ เพื่อให้งานสอบดำเนินไปอย่างราบรื่น
และไม่ขัดต่อกฎกติการะเบียบของงานดำเนินงานสอบคณะฯ
2. การจัดกรรมการคุมสอบของคณะศิลปศาสตร์ มีหลักการและหลักเกณฑ์ในการคำนวณจำนวนครั้งของการคุมสอบ
โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวัง#1
หน่วยงานจะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดของ
ประกาศ ระเบียบ แนวปฏิบัติ ของการดำเนินงานสอบ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย
และระดับคณะศิลปศาสตร์
|
ข้อควรระวัง#2
การจัดกรรมการคุมสอบทุกภาคการศึกษา หลีกเลี่ยงและล๊อควันของบุคลากรที่มีการกำหนดปฏิทินการประชุมไว้อย่างชัดเจน
ในแต่ละคณะกรรมการระดับคณะฯ / สาขาวิขา
|
ข้อควรระวัง#3
การจัดกรรมการคุมสอบทุกภาคการศึกษา
หลีกเลี่ยงข้อมูลจำเพาะรายวิชา/รายบุคคล
โดยจัดทำใบงาน check
list
เพื่อป้องกันความ ผิดพลาด
|
รายการอ้างอิง
-บันทึกข้อความสำรวจการจัดสอบ
-ใบสำรวจการจัดสอบในตาราง-นอกตาราง วันเวลาติดปฏิบัติงาน