เนื้อหา :
1. ชื่อบทความ การพัฒนาสมรรถนะสากลของนักศึกษา
คณะศิลปศาสตร์
2. ชื่อผู้เขียน นายจิรภัทร รัตนสังข์
3. วันเดือนปีที่เขียน 31 กรกฎาคม
2562
4. แหล่งที่มาของข้อมูล โครงการพัฒนาสมรรถนะสากลแก่นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
5. สรุปประเด็นความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติที่ดี
การพัฒนาสมรรถนะสากลของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีความรู้และ
ความเชี่ยวชาญ ในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศอื่นๆ
และทักษะวิชาชีพตามความสนใจของนักศึกษา การเรียนในชั้นเรียน ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และโอกาสในการศึกษาความรู้ในหัวข้อนั้นๆ
ทางคณะฯ เล็งเห็นความสำคัญของการบูรณาการความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ทั้งในการดำรงชีวิต และการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
และยังสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยและคณะศิลปศาสตร์ ในอันที่จะสร้างเสริมสมรรถนะสากลของนักศึกษาให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษที่ถือว่าเป็นภาษาสากลในการสื่อสาร
ดังนั้นทางคณะฯ จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศภูมิภาคอาเซียนที่มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยทางด้านภูมิศาสตร์
มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจในรูปแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของชาวจีน
ชาวมุสลิม และชาวพุทธ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่เรียน
ไปใช้ได้ในสถานที่จริง พร้อมทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้
ซึ่ง ELOs และสมรรถนะ
ที่สำคัญ 7 ด้าน มีดังนี้
ELOs
ของโครงการพัฒนาสมรรถนะสากล
1.
นักศึกษาสามารถแสดงทักษะความเป็นผู้นำและบริหารจัดการได้
2.
นักศึกษาสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์
3.
นักศึกษาสามารถแสดงความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมได้
สมรรถนะสากลประกอบไปด้วยสมรรถนะที่สำคัญ 7 ด้าน
1.
การสื่อสาร
2. เทคโนโลยี
3. การสร้างสรรค์ผลงาน
4. วัฒนธรรม
5. การบริหารจัดการ
6. ความเป็นผู้นำ
7. ความรู้เชิงวิชาการ
การดำเนินการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะสากล
คณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์
ได้มีการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะสากล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551
ซึ่งกระบวนการการจัดกิจกรรมนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การให้นักศึกษา ชั้นปีที่ 4
ที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการได้ไปทัศนศึกษาตามสถานที่สำคัญในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
คือ ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นระยะเวลา
4 วัน 3 คืน อีกทั้งแต่ละหลักสูตรฯ ก็ได้มีการมอบหมายโจทย์ประเด็นให้แก่นักศึกษา เพื่อกลับมานำเสนอผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการผ่านโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการพัฒนาสมรรุนะสากล คณะศิลปศาสตร์
และในปีการศึกษา 2561 คณะได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินโครงการใหม่
โดยที่คณะเล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาสมรรถนะสากลที่แท้จริง
และประสงค์จะให้นักศึกษามีส่วนสำคัญในการดำเนินการจัดโครงการ
คณะจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสมรรถนะสากล
คณะศิลปศาสตร์ขึ้น และทางคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม
โดยมุ่งไปที่มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือ
ประเทศมาเลเซีย อันได้แก่ 1. University College Bestari (UCB) 2. 3. National Defence University of Malaysia (UPNM)
ทั้งนี้ คณะยังได้มีการจัดกิจกรรมย่อย ดังนี้
1. กิจกรรมเสวนาทางวิชาการ
2. กิจกรรมศึกษาวัฒนธรรม
3. กิจกรรมลงชุมชน
4. กิจกรรมการแสดง
5.
กิจกรรม Buddy
และจาการที่คณะได้จัดโครงการ
โดยมุ่งเข้าไปทำกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือนั้น ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัย
จนทำให้มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกันจึงได้มีการจัดกิจกรรม
โครงการในรูปแบบเดียวกัน ก่อให้เกิดการ inbound – outbound
อย่างแท้จริง
สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะสากล
ตามที่มหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละชั้นปี
ชั้นปีละไม่น้อยกว่า 10 หน่วยชั่วโมง และกิจกรรมเลือกเข้าร่วมอีก 60 ชั่วโมง
รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 หน่วยชั่วโมง โครงการในแต่ละชั้นปี
มหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดไว้แล้วบางส่วน และในชั้นปีที่ 3
กำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวกับการสัมผัสโลกกว้าง ซึ่งมี 3 หลักสูตร คณะจึงกำหนดให้โครงการพัฒนาสมรรถนะสากล
คณะศิลปศาสตร์ เทียบเท่ากิจกรรมในหลักสูตร Y303 และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการพัฒนาสมรรถนะสากล คณะศิลปศาสตร์ เทียบเท่ากิจกรรมในหลักสูตร Y302
6.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติที่ดี
เพื่อให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้และมีการพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ
คณะจึงได้กำหนดเกณฑ์ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะสากลไว้
โดยที่นักศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องผ่านการเข้าร่วมโครงการ English
Camp และโครงการพัฒนาความเข้มแข็งทางภาษาอังกฤษหรือกิจกรรม
โครงการอื่นที่คณะพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถเทียบกันได้
7.
นำความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติไปขยายผลกับงานที่ปฏิบัติ
-
8.
ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
-
9.
รายการอ้างอิง (ควรเขียนอ้างอิงแบบ APA)
-