หัวข้อ : แนวคิดเพื่อการพัฒนางาน กองบรรณาธิการวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หมวด : หมวดการบริหารจัดการ
องค์ความรู้ : การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
โครงการ : -
จัดวันที่ : 12/6/2565
ถึงวันที่ : 12/6/2565
สถานที่ : -
จัดโดย : -
เนื้อหา :
การดำเนินงานของกองบรรณาธิการวารสารศิลปศาสตร์
เป็นการทำงานที่ไม่ดำเนินอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ควบคุมได้ทั้งหมดได้อย่างตรงไปตรงมา
(Unexpected) ดังนั้น ผลลัพธ์การจัดพิมพ์วารสารฯ 1 เล่ม กว่าจะออกมาเผยแพร่นั้นไม่ได้เป็นกระบวนการที่มีความฉับพลันทันที
แต่ทว่าระหว่างทางการดำเนินงานอาจต้องเผชิญเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
มีปัจจัยแทรกซ้อน นอกเหนือการควบคุม (Out of Control Situation) ก่อนการได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่อยู่ภายใต้ตัวชี้วัดการตัดสินภายในหน่วยงานและภายนอก
แนวคิดประเมินเชิงพัฒนา
หรือ Developmental
Evaluation หรือเรียกด้วยคำย่อว่า DE เป็นแนวคิดที่นักพัฒนาโครงการและนวัตกรรม
คือ Michael Quinn Patton (2011) ได้คิดค้นขึ้นเพื่อการพัฒนางานจากการประยุกต์ใช้ทักษะวิจัยเชิงคุณภาพเข้ามาสอดแทรกในการพัฒนาระบบการทำงานเป็นการประเมินที่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจกระบวนการทำงานเพื่อให้ตอบโจทย์กับสภาวการณ์แวดล้อมที่มีความเป็นพลวัตร
อาศัยการมีส่วนร่วมของทีมทำงานในการทำความเข้าใจปัญหาและพัฒนาปรับปรุงระบบการทำงานร่วมกัน
แนวคิดสำคัญของ Patton มีข้อโต้แย้งกับวัฒนธรรมผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ตัวเลขในการชี้วัดอย่างเงียบ
ๆ ในการตัดสินความสำเร็จ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์การประเมินที่เรามักพบเจอในระดับองค์กร
และการประเมินแบบตัวเลขอาจจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกบริบทการทำงาน
และหลายครั้งการใช้เกณฑ์ตัวเลขในการตัดสินก็ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องในระบบการทำงาน
รวมถึงช่องว่างในการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาอีกด้วย
การพัฒนางานของวารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประยุกต์ใช้แนวคิด Developmental
Evaluation กับผู้เกี่ยวข้องในทุกส่วน ในบทบาทการเป็น “ผู้เอื้ออำนวย
(Facilitator)” ให้ความช่วยเหลือ
ทั้งการพยายามรักษาผลประโยชน์ของผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และรักษาระบบทีมการทำงานภายในกองบรรณาธิการให้ไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จด้วยความพยายามสร้างดุลยภาพ
(Balance) หรือการติดตามกระบวนการทำงาน (Monitoring) โดยพยายามให้ความสำคัญกับทุกฝ่าย รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วม (Engage) ทำความเข้าใจปัญหาเพื่อหาทางออกด้วยกัน เช่น การคัดกรองคุณภาพบทความ
ก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินโดยให้โอกาสในการปรับปรุงแก้ไข
ผ่านการสะท้อนคิดของบรรณาธิการประจำบทความที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ ในฐานะพี่เลี้ยงหรือผู้ช่วยพัฒนาต้นฉบับบทความให้มีคุณภาพพร้อมตีพิมพ์
เป็นต้น
นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2564 กองบรรณาธิการวารสารศิลปศาสตร์
ใช้กระบวนการนี้เก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นต่าง ๆ
โดยใช้พื้นที่ประชุมคณะทำงานวารสารศิลปศาสตร์ เป็นพื้นที่การแลกเปลี่ยนและเริ่มต้นนำเสนอทางออกในระหว่างการทำงานทุก
ๆ 2 เดือน โดยมีการสรุปบทเรียนและร่วมกันค้นหาแนวทางแก้ไข
ซึ่งคาดหวังว่าแนวคิดนี้จะสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น