eKM LIBARTS
Welcome,
Guest
LOGIN
หน้าแรก
รู้จัก KM
คณะกรรมการ KM
แผน KM
คลังความรู้
ไม่พบสิทธิเข้าใช้งาน
Share KM
หมวดการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
หมวดการวิจัย
หมวดการบริหารจัดการ
หมวดการบริการวิชาการ
หมวดการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
กิจกรรม KM
รวม Link Website
รายงาน
ไม่พบสิทธิเข้าใช้งาน
×
เข้าสู่ระบบ
×
ออกจากระบบ
Guest
LOGIN
รายละเอียด
Share KM
หัวข้อ : การจัดการสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
หมวด : หมวดการวิจัย
องค์ความรู้ : ประเด็นอื่นๆที่หน่วยงานเห็นสมควรจัดการความรู้
โครงการ : โครงการ LA research Forum
จัดวันที่ : 15/7/2561
ถึงวันที่ : 15/7/2561
สถานที่ :
จัดโดย : งานวิจัย
เนื้อหา :
ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กำหนดระดับคุณภาพผลงานวิชาการต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติคือ ฐานข้อมูล TCI หรือระดับนานาชาติตามที่กำหนด โดยในการสืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการรายงานประกันคุณภาพ งานวิจัยได้ดำเนินการสืบค้นจากฐานข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
1.
การสืบค้นข้อมูลจาก EDS One Search
EDS One Search เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้นบทความ E-book ที่อยู่ในฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยจะรวบรวมฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรรมการการอุดมศึกษาและหอสมุดมหาวิทยาลัยบอกรับ จำนวน 13 ฐานข้อมูล ได้แก่ 1) ABI/INFORM Collection 2) ACM Digital Library 3)IEEE/IET Electronic Library (IEL) 4) ProQuest Dissertation & Theses Global 5) SpringerLink – Journal 6) Web of Science
7) Academic Search Complete 8) H.W. Wilson (12 Subjects) 9) EBSCO Discovery Service Plus Full Text 10) American Chemical Society Journal (ACS) 11) Emerald Management (EM92) 12) ScienceDirect รวมทั้ง OPAC ของหอสมุด ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขต นอกจากนั้นยังสามารถค้นหาทรัพยากรของหอสมุดของมหาวิทยาลัยเครือข่าย Pulinet เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น โดยผู้ใช้งานสามารถยืมสารสนเทศของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้
2.
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Web of Science (WoS หรือ ISI)
ฐานข้อมูล Web of Science (WoS หรือ ISI) เป็นฐานข้อมูลที่มีการเผยแพร่บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารและ Proceedings งานประชุมวิชาการ ในรูปแบบ Full text และ Abstract ฐานข้อมูล WoS จะคัดเลือกข้อมูลจากวารสารหลักของสาขาวิชา คือ Science Citation Index, Social Science Citation Index, Arts & Humanities citation Index การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวารสารสามารถดูจากค่า Impact Factor ค่า Q (Q1-Q4) และค่า H index ผู้เขียนบทความสามารถตรวจสอบรายการอ้างอิงของบทความได้ หน่วยงานสามารถตรวจสอบระดับคุณภาพของบทความที่เผยแพร่โดยบุคลากรได้
3.
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus
ฐานข้อมูล Scopus รวบรวมบทคัดย่อของวารสารที่มี peer reviewed และ Proceedings จากงานประชุมวิชาการ รวมทั้ง Open Access Journal จากอเมริกา ยุโรป และเอเชีย การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวารสารสามารถดูจากค่า SJR ผู้เขียนบทความสามารถตรวจสอบรายการอ้างอิงของบทความได้ หน่วยงานสามารถตรวจสอบระดับคุณภาพของบทความที่เผยแพร่โดยบุคลากรได้
ทั้งนี้ วิธีการสืบค้นฐานข้อมูลประเภทต่าง ๆ สามารถดูได้จากเอกสารแนบ
*************************************************************************
สร้างบทความโดย :
สร้างบทความวันที่ :
12/2/2562
อัปเดท :
โดย :
-
ไฟล์แนบ :
>> ไฟล์แนบที่ 1 <<
ไม่มีรูปภาพ