เนื้อหา :
ค่ารักษาพยาบาล
หมายถึง การรักษาพยาบาลสำหรับผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ให้หายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ
ทั่วไป รวมทั้งการรักษาโรคฟัน และการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป
ค่าศึกษาบุตร
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับบุตรของแต่ละสถานศึกษา โดยมีอายุครบ 3 ปี
แต่ไม่เกิน 25 ปี
ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
ผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้แก่
· พนักงานมหาวิทยาลัย
·
ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
· ญาติสายตรง
(บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ของพนักงานมหาวิทยาลัย)
1.
สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล วงเงิน 20,000 บาท
เบิกได้เฉพาะตนเองและญาติสายตรง
· ค่ารักษาพยาบาล
ใช้บริการได้ทุกสถานพยาบาลที่มีแพทย์ปฏิบัติหน้าที่
·
ค่าทันตกรรม (ครอบคลุมเฉพาะ ขูดหินปูน
อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด และรักษารากฟัน)
·
ค่ารักษาพยาลกรณีตั้งครรภ์
(ค่าคลอดบุตร/ค่าตรวจหลังคลอดและค่าฟื้นฟูมารดาหลังคลอด/ค่าแท้งบุตร)
·
ค่าวัคซีนป้องกันโรค (วัคซีนเด็กตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด/วัคซีนสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่มีความเสี่ยง/วัคซีนตามฤดูกาล
ได้รับคำแนะนำจากสาธารณสุข/กรณีที่มีความเสี่ยงของโรคมีความจำเป็นต้องป้องกัน
· ค่ารักษาโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงแก่ชีวิต
(ใช้สิทธิได้เฉพาะตนเองเท่านั้น)
2. สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยนอก
และการตรวจสุขภาพประจำปี ครั้งละ 1,500
บาท/โรค/วัน ไม่เกิน 20 ครั้งต่อปีงบประมาณ เบิกได้เฉพาะตนเอง
· ค่ารักษาพยาบาล
ใช้บริการได้ทุกสถานพยาบาลที่มีแพทย์ปฏิบัติหน้าที่
· ค่าตรวจสุขภาพ
(ใช้สิทธิได้เฉพาะตนเองเท่านั้น1ปี/ครั้ง)
· การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
(ใช้สิทธิได้เฉพาะตนเองเท่านั้น1ปี/ครั้ง)
3.
กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงินที่ได้รับสิทธิในข้อ
1 (เฉพาะตนเอง) ให้เบิกจ่ายส่วนที่เกินได้โดยจ่ายร่วมกับมหาวิทยาลัย (Co-pay)
ในการจ่ายเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอวัยวะเทียม
เป็นสัดส่วนร้อยละ50 ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท
4.
กรณีทุพพลภาพจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้
และต้องออกจากงาน (เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่เท่านั้นไม่รวมถึงผู้ที่เกษียณอายุงานไปแล้ว)
ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ รายละ 200,000 บาท ถ้าวงเงินสะสมจากข้อ 1
ยังเหลืออยู่ สามารถใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองได้ไม่เกินวงเงินสะสม
เอกสารหลักฐานประกอบการเบิก
1. แบบ
กทพ.01
2. ใบรับรองแพทย์
3. ใบเสร็จรับเงิน
อายุไม่เกิน 1 ปี
4. กรณีค่ารักษาพยาบาลที่แพทย์สั่งให้ใช้ยาจากนอกสถานพยาบาล
(ต้องมีใบสั่งการจากแพทย์)
5. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
ในแต่ละระดับการศึกษาให้เบิกจ่ายได้ตามสิทธิของข้าราชการ
หากคู่สมรสของพนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
จากหน่วยงานอื่นก็ให้ใช้สิทธิเบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน
เอกสารหลักฐานประกอบการเบิก
1. แบบ
กทพ.02
2. ใบเสร็จรับเงิน
ต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่วันเปิดภาคเรียนของแต่ละภาค
3. ใบประกาศเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม
เงินสะสมของพนักงานมหาวิทยาลัย
สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงแต่รวมทั้งปีงบประมาณไม่เกิน
10,000 บาท สะสมได้ 2 ปี ยอดสะสมไม่เกิน 20,000 บาท
และต้องเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง สามารถสะสมได้อย่างต่อเนื่อง
แนวปฏิบัติการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีเกษียณอายุ
ถ้าวงเงินสะสมยังเหลืออยู่
ให้ผู้เกษียณเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้อ 1
สำหรับตนเองและญาติสายตรงได้ไม่เกินวงเงินสะสมและถือปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการบำนาญ
โดยส่งเบิกเอกสารที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี หรือส่งทางไปรษณีย์ จ่าหน้าถึง
งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15
ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90110
การตรวจสอบประวัติการเบิกค่ารักษาพยาบาลกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย
1. เข้าไปยังระบบเบิกเงินสวัสดิการกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย
http://fund.psu.ac.th
2. Login
เข้าไปในระบบกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย
3. ระบบจะแสดงการเบิกค่ารักษาพยาบาล/ค่าศึกษาบุตร
โดยสามารถดูประวัติการเบิกจ่ายย้อนหลังได้
วิธี Download
แบบฟอร์มสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย
1. สามารถ
Download แบบฟอร์มได้ที่ เว็บไซต์การเงินคณะศิลปศาสตร์ ใน หัวข้อ
Dowloadแบบฟอร์ม เลือกหัวข้อค่ารักษา
ค่าศึกษาบุตร http://www.iw2.libarts.psu.ac.th/libarts/index.php/en/?option=com_sppagebuilder&view=page&id=7
2. รับแบบฟอร์มได้ที่งานการเงิน
ชั้น 2 งานบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์