เนื้อหา :
1.
ชื่อบทความ เรื่อง แนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินงานการจัดสอบ
PSU-Test
2.
ชื่อผู้เขียน นางสาวอัสมูนี อิสสะมะแอ
ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา สังกัดงานบริการการศึกษา
3.
วันเดือนปีที่เขียน 29 กรกฎาคม 2562
4.
แหล่งที่มาของข้อมูล ผู้ประสานงานการสอบจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้
5.
สรุปประเด็นความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติที่ดี
ตามที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีนโยบายพัฒนาความเข้มแข็งด้านภาษาอังกฤษ
โดยกำหนดให้นักศึกษาใหม่ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
ต้องสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษผ่านในระดับคะแนนที่มหาวิทยาลัยกำหนดจึงจะมีสิทธิ์ได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย
กอปรกับ มหาวิทยาลัย ได้มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดสอบ
PSU-Test สำหรับนักศึกษา
จากเดิม ใช้กระดาษคำตอบในการทำข้อสอบ เปลี่ยนเป็น การจัดสอบ PSU-Test แบบระบบออนไลน์ ตั้งแต่ปีการสึกษา 2560
เป็นต้นไป นั้น
อนึ่ง คณะศิลปศาสตร์
เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความเข้มแข็งด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
จึงได้กำหนดจัดโครงการทดสอบภาษาอังกฤษ PSU-Test
ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ
และทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์
โดยได้มีแนวปฏบัติและขั้นตอนการดำเนินงานการจัดสอบ PSU-Test ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
: การนัดหมายเพื่อขอสอบ
การสอบ
PSU-Test ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
โดยคณะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบให้กับนักศึกษาในสังกัด
ผู้ดำเนินการจัดสอบสามารถตรวจสอบตารางสอบเบื้องต้นที่
http://bit.ly/G2tzZra
เพื่อจองวันสอบกับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย โดยต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย
10 วันทำการก่อนวันสอบ
และส่งเอกสารขอเปิดสอบไปยังศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ ล่วงหน้าอย่างน้อย 7
วันทำการก่อนวันสอบ
ขั้นตอนที่ 2 : การจัดสอบ
ผู้ดำเนินการจัดสอบดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบเซ็นชื่อที่
https://bit.ly/2QonJcF และจัดเตรียมรายชื่อผู้เข้าสอบลงในแบบฟอร์มที่กำหนด
โดยคณะเป็นผู้จัดสอบ และต้องมีเจ้าหน้าที่ของคณะเป็นผู้ดูแลและควบคุมการสอบ
ทั้งนี้ผู้จัดสอบต้องแจ้งนักศึกษาเซ็นชื่อก่อนเข้าสอบทุกครั้ง โดยนักศึกษาสามารถเข้าสอบสายได้ไม่เกิน
10 นาที นับจากเวลาเริ่มสอบ หากเกินกำหนดจะไม่สามารถเข้าสอบในรอบนั้นๆ ได้
ขั้นตอนที่
3
: การสนับสนุนด้านสารสนเทศ/อุปกรณ์ที่ใช้สอบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานต้องมีหูฟังและเชื่อมต่อเครื่องข่ายภายในมหาวิทยาลัยตลอดเวลาการสอบ
ซึ่งก่อนการทดสอบ นักศึกษาต้องทดสอบระบบเสียงและตัวอย่างข้อสอบได้ที่ราย “Short Course
PSU English Test” ในระบบ LMS2@PSU หรือ
ตาม URL: https://lms2.psu.ac.th/course/view.php.?id=1459
โดยนักศึกษาต้องใช้บัญชี ของ PSU Passport
ในการเข้าใช้งานระบบ และใช้เบราเซอร์ Google Chrome ทั้งนี้คณะได้กำหนดให้จัดเจ้าหน้าที่สารสนเทศควบคุมการสอบ
เพื่อกรณีเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิคจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที
ขั้นตอนที่
4
: การส่งใบรายชื่อผู้เข้าสอบ
คณะดำเนินการนำส่งข้อมูล
ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบที่มีลายเซ็นของผู้สอบ (Scan ส่งเป็นไฟล์ PDF) และ ไฟล์ข้อมูลผู้เข้าสอบที่มีการระบุผู้ขาดสอบ โดยส่งผ่าน http://lms2.psu.ac.th/course/view.php?id=4337 ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ ได้กำหนดรอบการจัดส่งข้อมูล
ดังนี้
-
รอบที่ 1 ภายในวันที่ 5 ตุลาคม
-
รอบที่ 2 ภายในวันที่ 5 ธันวาคม
-
รอบที่ 3 ภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์
-
รอบที่ 4 ภายในวันที่ 5 เมษายน
-
รอบที่ 5 ภายในวันที่ 5 มิถุนายน
ทั้งนี้
หากไม่ส่งตามรอบที่กำหนดหรือไฟล์ที่ส่งมีข้อผิดพลาดและคณะแก้ไขแล้วส่งใหม่หม่ทัน
ผลคะแนนดังกล่าวจะถูกนไปตรวจในรอบถัดไป
ขั้นตอนที่
5
: การแจ้งผลการทดสอบกลับมายังคณะ
มหาวิทยาลัยจะดำเนินการตรวจสอบและสรุปผลการทดสอบ
โดยแบ่งเป็น 5 รอบ/ปีการศึกษา ดังนี้
-
รอบที่ 1 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน
-
รอบที่ 2 ยืนยันผลภายในวันที่ 15
มกราคม
-
รอบที่ 3 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 มีนาคม
-
รอบที่ 4 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 พฤษภาคม
-
รอบที่ 5 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 กรกฎาคม
คณะสามารถดาวน์โหลดผลการทดสอบผ่านระบบออนไลน์ได้ที่
https://lms2.psu.ac.th/course/index.php?categoryid=216
ขั้นตอนที่
5
: การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศนักศึกษา (http://sis.psu.ac.th)
กองทะเบียนและประมวลผลนำข้อมุลนักศึกษาที่ผ่านตามเกณฑ์การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
เข้าระบบ SIS
โดยแบ่งเป็น 5 รอบ/ปีการศึกษา ดังนี้
-
รอบที่ 1 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน
-
รอบที่ 2 ยืนยันผลภายในวันที่ 15
มกราคม
-
รอบที่ 3 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 มีนาคม
-
รอบที่ 4 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 พฤษภาคม
-
รอบที่ 5 ยืนยันผลภายในวันที่ 15 กรกฎาคม
6.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)
-
7.
นำความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติไปขยายผลกับงานที่ปฏิบัติ
การจัดทำแนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินงานการจัดสอบ
PSU-Test
สามารถพัฒนาและต่อยอดไปสู่การจัดทำคู่มือการทำงาน (Work
Instruction) หรือคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ได้ เพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน
บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ กรณีที่มีการโยกย้ายตำแหน่งงาน
บุคลากรสามารถเริ่มปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานไม่เป็นระบบส่งผลให้งานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. ข้อเสนอแนะ
(ถ้ามี)
-