หัวข้อ : ตอนที่ 1: โครงสร้างรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปใหม่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2561 ต่อการจัดการเรียนการสอน ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หมวด : หมวดการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
องค์ความรู้ : ประเด็นอื่นๆที่หน่วยงานเห็นสมควรจัดการความรู้
โครงการ :
จัดวันที่ : 9/1/2563
ถึงวันที่ : 9/1/2563
สถานที่ :
จัดโดย : ศูนย์การศึกษาทั่วไป (นางสลักใจ ศรีธราดล และนางสาวศิรินภา โชติกมาศ)
เนื้อหา :
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มาตรา 4
ในพระราชบัญญัตินี้ “การศึกษา” หมายความว่า
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม
การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ในมาตรา 6
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมไทยในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
แนวการจัดการศึกษาตามมาตรา 22
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ในมาตรา 47
ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์
และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542,
น.2, 5, 12, 24-25)
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 ข้อ 8 โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะและหมวดวิชาเลือกเสรี โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา ข้อ 8.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง
วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้
สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม
ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ
สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด
ๆ ก็ได้
โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป
โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และเรื่อง
แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 5
การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
โดยให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ
จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว
ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก
และไม่ควรนำรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป (สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พฤษภาคม 2548, น.13, 35)
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ข้อ 9 โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี
โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา
ข้อ 9.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง
หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม
พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด
ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต (สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรกฎาคม 2560, น.5) และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 ข้อ 6 การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
โดยให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ
จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว
ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก
และไม่ควรนำรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป
(สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ กรกฎาคม 2560, น.2)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ ปรับปรุงรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีผลตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา
2557 การจัดรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยา-เขตหาดใหญ่
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548
กำหนดให้มีหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในโครงสร้างหลักสูตร โดยมีเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ ภาษา และวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนดโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
เพื่อใช้สำหรับทุกหลักสูตรและทุกวิทยาเขต ยกเว้นวิทยาเขตปัตตานี
ซึ่งกำหนดโครงสร้างของวิทยาเขตเอง
แต่มีรายวิชาที่เทียบเคียงได้กับรายวิชาบังคับของมหาวิทยาลัย และในปี 2553
มหาวิทยาลัยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป
เป็นมาตรฐานกลางของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(หนังสือที่ มอ 064/ว0670 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557) (*รายละเอียดเพิ่มเติมตามไฟล์แนบ*)