หัวข้อ : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
หมวด : หมวดการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
องค์ความรู้ : ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โครงการ : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
จัดวันที่ : 2/9/2565
ถึงวันที่ : 31/5/2566
สถานที่ : Zoom
จัดโดย : งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
เนื้อหา :
แบบฟอร์มบทความการจัดการความรู้
คณะศิลปศาสตร์
1.
ชื่อบทความ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
2. ชื่อผู้เขียน นางสาวอรุณพร แซ่เตีย
3.
วันเดือนปีที่เขียน 31 พฤษภาคม 2566
4.
แหล่งที่มาของข้อมูล โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
วันที่ 2 กันยายน
2565 ผ่านระบบ Zoom
5.
สรุปประเด็นความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติที่ดี
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
จัดขึ้นโดยงานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร เพื่อเป็นการจัดการความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ที่ได้รับทุนหรือได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยจัดให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนบรรยาย แบ่งปันประสบการณ์ ทั้งในการเตรียมความพร้อมเพื่อสมัครรับทุน
การเรียนและใช้ชีวิตในต่างประเทศ
รวมถึงบอกเล่าความประทับใจและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอสรุปประเด็นความรู้จากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
เมื่อวันที่ 2 กันยายน
2565 เวลา 13.00-15.30 น. ผ่านระบบ Zoom รายละเอียดดังนี้
1) การเตรียมตัวเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ
- ติดตามข่าวสารทุนการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากสื่อประชาสัมพันธ์
social media ของคณะ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกอื่นๆ
- ศึกษาข้อมูลทุนการศึกษาและกิจกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร
และเอกสารประกอบการสมัครโดยละเอียด หากเป็นกิจกรรมที่มีเป็นประจำทุกปี
อาจขอคำแนะนำจากรุ่นพี่ที่เข้าร่วมโครงการในปีก่อน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่งานวิเทศสัมพันธ์ฯ
- ก่อนสมัคร ควรศึกษาข้อมูลทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องรับผิดชอบในการเข้าร่วมโครงการ
เพื่อป้องกันการสละสิทธิ์ภายหลัง
- เตรียมเอกสารการสมัครให้ครบถ้วน พร้อมเอกสารแนบที่สะท้อนความสามารถของนักศึกษา
ทั้งด้านวิชาการและด้านกิจกรรม เช่น ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ/ภาษาต่างประเทศ
เกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการ และผลการศึกษา เป็นต้น
- ส่งเอกสารการสมัครภายในกำหนด หากมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งเอกสารได้ทันเวลา
ให้ปรึกษาหน่วยงานที่รับสมัครล่วงหน้า เพื่อพิจารณายืดหยุ่นเวลาการส่งใบสมัคร
2) การปฏิบัติตัวขณะเข้าร่วมโครงการ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่จะเดินทางไปแลกเปลี่ยน เช่น สภาพอากาศ
วัฒนธรรม เพื่อเตรียมสิ่งของสำหรับใช้ที่ต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม
- ศึกษาบทเรียนล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน เพื่อสามารถที่จะเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเรียนร่วมกับนักศึกษาต่างชาติผู้เป็นเจ้าของภาษา
- ทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน เช่น เข้าร่วมชมรมต่าง ๆ เล่นกีฬา
และร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างเครือข่าย พบปะผู้คน และพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
- นำชุดไทย หรือของที่ระลึกจากประเทศไทยไปด้วย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมวัฒนธรรม
และเป็นการสร้างมิตรภาพจากการแลกของที่ระลึกกับเพื่อนชาวต่างชาติ
3) สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากเข้าร่วมโครงการ
- ได้พัฒนาความกล้าและความเชื่อมั่นตนเอง เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตในต่างประเทศด้วยตนเอง
ได้รับประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรมจากสิ่งแวดล้อมใหม่
- ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศกับเจ้าของภาษา
- เปิดโลกทัศน์ มีความรู้ ความเข้าใจในสังคมต่างประเทศ ทำให้เกิดความกระตือรือร้นการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
- ได้รับมิตรภาพและเครือข่ายเพื่อนชาวต่างประเทศ
- สามารถนำข้อดีของวิถีชีวิตในต่างประเทศมาปรับใช้กับตนเองได้
4) ข้อคิดและคำแนะนำที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนต้องการบอกกับนักศึกษาที่สนใจ
- หมั่นหาข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่เหมาะกับตนเอง
- เตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เช่น เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มีผลสอบวัดระดับภาษาต่างประเทศ
ร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาแลกเปลี่ยนของคณะหรือมหาวิทยาลัย
- เลือกสมัครโครงการแลกเปลี่ยนที่มีทุนสนับสนุนค่าใช้จ่าย
เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง
6.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแนวปฏิบัติที่ดี (ถ้ามี)
- นักศึกษาแลกเปลี่ยนเป็นแหล่งข้อมูลและแรงจูงใจที่ดีสำหรับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน
- เจ้าหน้าที่งานวิเทศสัมพันธ์ มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล เป็นที่ปรึกษา และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน
ณ ต่างประเทศ
7.
นำความรู้/บทเรียน/แนวปฏิบัติไปขยายผลกับงานที่ปฏิบัติ
- นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้
ความเข้าใจ และได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจากนักศึกษาแลกเปลี่ยน
เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเพื่อเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน
- เจ้าหน้าที่งานวิเทศสัมพันธ์ฯ สามารถใช้ข้อมูลจากการจัดการความรู้ประสบการณ์นักศึกษาแลกเปลี่ยน
ในการให้คำแนะนำเกี่ยวทุน/โครงการให้แก่นักศึกษาที่สนใจได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
8.
ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
- จัดหานักศึกษาแลกเปลี่ยนจากหลากหลายกิจกรรมมาเป็นวิทยากร
9.
รายการอ้างอิง (ควรเขียนอ้างอิงแบบ APA)
- บันทึกวิดีโอโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
วันที่ 2 กันยายน 2565
- แบบประเมินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นานาชาติ
วันที่ 2 กันยายน 2565