รายละเอียด Share KM

  • หัวข้อ : ระวังภัยเงียบ!! ดูหนังออนไลน์ CPU คอมอาจพังไม่รู้ตัว

  • หมวด : หมวดการบริหารจัดการ

  • องค์ความรู้ : ประเด็นอื่นๆ ที่หน่วยงานเห็นสมควรจัดการความรู้

  • โครงการ :

  • จัดวันที่ : 11/11/2560

  • ถึงวันที่ : 11/11/2560

  • สถานที่ :

  • จัดโดย :

  • เนื้อหา :

    ระวังภัยเงียบ!! ดูหนังออนไลน์ CPU คอมอาจพังไม่รู้ตัว

    ก่อนอื่นเรามาทราบที่มาที่ไปกันก่อนว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การดูหนังออนไลน์ธรรมดาๆถึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายได้ ต้นตอของปัญหาคือเงินติจิตอลที่เรียกว่า Bitcoin

                   บิตคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร? Bitcoin คือ เงินดิจิตอล (CryptoCurrency) สกุลหนึ่ง ซึ่งมี Market Cap มากที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการได้ทั่วโลก โอนไปมาระหว่างผู้ถือได้รวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าการโอนเงินผ่านธนาคาร หรืออาจะพูดให้ง่าย ๆ ได้ว่า บิตคอยน์คือเงินสกุลใหม่สกุลหนึ่ง แต่เป็นเงินดิจิตอลหรือเงินอิเลคโทรนิกส์ ไม่มีเหรียญหรือกระดาษที่เป็นตัวเงิน ต้องใช้จ่ายผ่าน computing device เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ และแทบเล็ต เท่านั้น บิตคอยน์เป็นระบบการเงินที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของระบบ ไม่มีศูนย์กลาง (Decentralize) ไม่มีหน่วยงานใดสามารถเข้ามาปิดกั้น กำกับ หรือเข้ามาชี้นำทิศทางได้ ระบบบิตคอยน์นั้นถูกออกแบบมาให้ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ โปร่งใส สามารถตรวจสอบทุกธุรกรรมได้ตลอดเวลา และด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่ใช้เก็บธุรกรรมของบิตคอยน์นั้นมีความปลอดภัยสูงมาก ทำให้ยังไม่มีใครสามารถเจาะหรือ Hack ระบบบิตคอยน์ได้

             ประวัติความเป็นมาของ Bitcoin บิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นมาจากอัจฉริยะนิรนามที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่มีใครทราบว่าผู้สร้างบิตคอยน์เป็นใคร เนื่องจากผู้คิดค้นไม่ยอมเปิดเผยตัวตน บิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นมาและปล่อยตัวซอฟท์แวร์แบบ Open source ออกสู่สาธารณะเมื่อปี ค.ศ.2009  โดยที่บิตคอยน์ถูกสร้างบนหลักการที่ว่า จะเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิตอลที่สามารถใช้ได้จริง สามารถส่งไปมาได้ทั่วโลกโดยอิสระแบบ Peer-to-Peer ไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือธนาคารเข้ามาข้องเกี่ยว มีความรวดเร็วในการโอน สามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้สะดวก และมีค่าธรรมเนียมการโอนต่ำกว่าการใช้บริการธนาคาร Satoshi Nakamoto ได้ออกแบบให้บิตคอยน์ทำงานบนเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง เรียกว่าว่าเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นที่รวบรวมธุรกรรมทั้งหมดของการโยกย้ายและยอดเงินคงเหลือของทุกบัญชี (บัญชีบิตคอยน์เราเรียกว่า Bitcoin address) อีกทั้งขาได้ออกแบบให้บิตคอยน์ที่จะถูกสร้างขึ้นทั้งหมดในโลกมีเพียงแค่ 21 ล้านหน่วยเท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้ ซึ่งปัจจุบันมีบิตคอยน์ถูกสร้างหรือขุดขึ้นมาแล้วราว 16.5 ล้านหน่วย ส่วนอีกราว 4.5 ล้านหน่วยจะถูกขุดจนครบในราว ๆ ปี ค.ศ. 2140 และด้วยจำนวนที่มีจำกัดและความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาต่อหน่วยของบิตคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ราคา Bitcoin อยู่ที่ 1 BTC = 225,000 บาท

    เทคโนโลยี Blockchain คือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังสกุลเงินดิจิตอลทุกสกุล รวมถึงบิตคอยน์ด้วย Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมรายการทำธุรกรรมของบิตคอยน์เอาไว้เป็นกลุ่ม ๆ หรือเอาไว้ในกล่อง ๆ หนึ่ง เมื่อจำนวนธุรกรรมครบตามจำนวนที่กำหนดและธุรกรรมเหล่านั้นถูกยืนยันแล้วว่าถูกต้อง กล่องนั้นก็จะถูกปิดและนำมาวางต่อกันในสาย Blockchain โดยที่ไม่มีสามารถกลับมาแก้ไขได้ จากนั้นธุรกรรมหรือกล่องต่อ ๆ ไปที่ถูกยืนยันแล้วก็จะถูกนำมาวางต่อกันไปเรื่อย ๆ และนี่คือที่มาของคำว่า Blockchain หรือ สายโซ่ของกล่องธุรกรรม

    ในทุกกล่องเก็บข้อมูลธุรกรรม (Block) ที่เก็บต่อเนื่องกันนั้น ยังได้เก็บข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ในอดีตที่ต่อเนื่องกันเอาไว้ด้วย และเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่รันระบบบิตคอยน์ (Bitcoin node) เครื่องละหนึ่งสำเนา (Copy) ดังนั้นเมื่อมีใครพยายามจะแก้ไขข้อมูลใน Blockchain เครื่องอื่น ๆ ในระบบจะรับรู้ทันทีและจะปฏิเสธการแก้ไขนั้นทันทีเช่นกัน ดังนั้นการจะเจาะระบบหรือแฮกค์ระบบบิตคอยน์ จะต้องแก้ไขข้อมูลใน Blockchain ทุก ๆ Block (เพราะข้อมูลมันต่อเนื่องกันหมด) และต้องแก้ข้อมูลใน Bitcoin node ทุกเครื่องในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งยังไม่สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน (มีหลายคนบอกว่า วันใดที่ Quantum Computer มาถึง วันนั้นอาจจะทำได้ ซึ่งต้องรอดูกันต่อไป)

    ปัจจุบันเทคโนโลยี Blockchain ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ใช่แค่กับ CryptoCurrency เท่านั้น แต่ถูกนำไปปรับใช้ในด้านอื่น เช่น การเก็บข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ระบบการโอนเงินของธนาคาร อุตสาหกรรมการผลิต ภาคการขนส่ง กิจการประกันภัย การเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และการเก็บข้อมูลการเลือกตั้ง เป็นต้น

    เราจะหา Bitcoin ได้จากที่ไหนบ้างโดยปกติเราสามารถเป็นเจ้าของบิตคอยน์ได้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
    1. การขุดบิตคอยน์ การขุดบิตคอยน์ (Bitcoin mining) เป็นคำที่เราอาจจะได้ยินกันบ่อย ๆ แท้ที่จริงการขุดบิตคอยน์คือการยืนยันธุรกรรมหรือการโอนบิตคอยน์นั่นเอง เนื่องจากว่าระบบบิตคอยน์ไม่มีศูนย์กลาง หรือระบบยืนยันธุรกรรมเหมือนระบบธนาคาร ดังนั้นจึงต้องอาศัยกลุ่มผู้ใช้งานส่วนหนึ่งที่เรียกว่านักขุด (Miner) เป็นผู้ยืนยันธุรกรรมแทน ทุกธุรกรรมของบิตคอยน์นั้นจะถูกเข้ารหัสด้วยสมการคณิตศาสตร์ชั้นสูงอันซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถถอดรหัสได้ด้วยคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไป แต่ต้องถอดรหัสด้วยเครื่องมือที่สามารถถอดรหัสสมการคณิตศาสตร์ด้วยอัลกอริทึ่ม SHA-256 (SHA-256 Algorithm) ได้เท่านั้น

    2. การรับชำระสินค้าและบริการด้วยบิตคอยน์ ในปัจจุบันเราสามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบิตคอยน์แทนเงินสดและบัตรเงินสดต่าง ๆ ได้ง่ายและค่าธรรมเนียมไม่แพง บิตคอยน์ที่ได้มาเราสามารถเก็บไว้เพื่อการลงทุนหรือแลกเป็นเงินสดก็ได้เช่นกัน โดยในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ หรือ Application สำหรับรับชำระด้วยบิตคอยน์มากมายให้เลือกใช้

    3. การซื้อบิตคอยน์จากกระดานซื้อขาย ปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายทั้งของไทยและต่างประเทศที่ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนบิตคอยน์และสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั้งเงินบาท เงินดอลลาร์ และเงินสกุลท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แทบทุกสกุล ซึ่งสำหรับบุคคลทั่วไป วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการแลกเปลี่ยนบิตคอยน์เพื่อการลงทุน การจับจ่ายใช้สอย หรือเพื่อการเดินทาง

              หลังจากทำความรู้จักกับ Bitcoin กันไปแล้ว ด้วยผลตอบแทนที่มากมายทำให้หลายคนสนใจเข้ามาหารายได้จาก Bitcoin ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ ทำการฝั่ง script โดย script ดังกล่าวนั้นจะทำให้ CPU ของเครื่องเรานั้นทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา เพื่อใช้เครื่องของเราเป็นเครื่องมือในการขุด Bitcoin ให้กับเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว และเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานหนัก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอาจเสียหายได้ โดยไม่รู้ตัวนั้นเอง

    วิธีป้องกัน สามารถป้องกันด้วย Extension ของ Google Chrome ที่มีชื่อว่า No Coin ก็สามารถช่วยป้องกันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปใช้ในการขุด Bitcoin

    อ้างอิงภาพจาก

    ที่มา :  http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/bitcoin/

    ที่มา : https://pantip.com/topic/31079860

    ที่มา : https://pantip.com/topic/37026492

*************************************************************************
สร้างบทความโดย :
สร้างบทความวันที่ : 25/12/2560

อัปเดท :
โดย : -
ไฟล์แนบ :
>> ไฟล์แนบที่ 1 <<

รูปภาพที่ : 1

รูปภาพที่ : 2

รูปภาพที่ : 3